บันทึกการเรียนรู้ สัปดาห์ที่ 2


          การบริการวิชาการหรือการจัดทำโครงการ จะต้องอาศัยงบประมาณ ซึ่งอาจเป็นงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินรายได้ และในการใช้งบประมาณหรือจัดทำโครงการก็ต้องมีการจัดการ หรือ Management นั่นก็คือส่วนที่เราจะได้เรียนรู้กันในรายวิชานี้
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา มี 5 ส่วน
          การออกแบบ (Design)
          การพัฒนา (Development)
         การนำไปใช้ (Utilization)
         การจัดการ (Management) วิชาที่เรากำลังจะเรียนก็เป็นหนึ่งในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
         การประเมินค่า (Evaluation)   
AECT (Association for Educational Communications & Technology)
          AECT (Association for Educational Communications & Technology) เป็นสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ที่จัดว่าเป็นองค์กรระดับนานาชาติ ซึ่งมีเครือข่ายทั้งประเทศไทย และต่างประเทศที่ มีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเปิดสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษา เช่น สิงคโปร์ อเมริกา ฯลฯ
พันธกิจ
          เตรียมพร้อมในการเป็นผู้นำระดับนานาชาติในการปฏิบัติทางด้านการสร้างสรรค์ การนำไปใช้ และการจัดการเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
วิสัยทัศน์
          เรามุ่งที่จะเป็นองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติทางด้านเทคโนโลยีกรศึกษา องค์กรที่ผู้อื่นอ้างถึงในงานวิจัยหรือปฏิบัติการ      
ค่านิยม
1.     We value Leadership  (ผู้นำ)
2.     We value Financial Stability (ความมั่นคงทางการเงิน)
3.     We Value Collaboration (ความร่วมมือ)
4.     We value Professional Standards (มาตรฐานอย่างมืออาชีพ)
5.     We value Sustainability (พัฒนาอย่างยั่งยืน)
เป้าประสงค์
1. เป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยหาผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้มาช่วยปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้
2. มีส่วนร่วมอย่างมืออาชีพและเป็นผู้นำในงานด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษา
3. บำรุงรักษาให้มั่นคง ยั่งยืน ให้ และเป็นนักวิชาการที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
4. สนับสนุนข้อบังคับ AECT
ติดต่อ http://aect.site-ym.com/
การเข้า Wi-Fi ของเกษตรศาสตร์
          โดยต้องติดตั้งเองหรือไปขอให้ทางสำนักบริการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยติดตั้งให้
1.       เข้าไปที่ smart.ku.ac.th
2.       เข้า USERNAME : gxxxxxxxxxx [x = รหัสนิสิต] PASSWORD : แล้วแต่แต่ละคนตั้งรหัสไว้
3.       เปิดหา IP ADDREES ของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ของตนเอง
คอมพิวเตอร์ PC เข้าไปที่ search > command prompt >> พิมพ์ “ipconfig/all” >> Enter >> จดข้อมูล Physical Address จากหัวข้อ Wireless LAN adapter Wireless Network Connection



IPAD เข้าไปที่ การตั้งค่า (Setting) >> ส่วนตัว (General) >> เกี่ยวกับ (About) >> Wi-Fi Address (ที่อยู่ Wi-Fi)




ANDROID: การตั้งค่า (Setting) >> เกี่ยวกับ (About) >> สถานะ (Status) >> ที่อยู่ IP (IPADDRESS)
 
  
4.       จากหน้าเว็บ smart.ku.ac.th ที่ล็อคอินเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วให้กด เพิ่มการ์ดเครือข่ายไวร์เลส >> และลงข้อมูลจากนั้นกดตกลง
          สถานที่ที่ไปศึกษาดูงาน เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สำนักหอสมุด ห้องสมุดโรงเรียน ฝ่ายนวัตกรรมขององค์กร เป็นองค์กรหรือสถานที่ที่มีการบริหารจัดการ การจัดซื้อ การจัดหา การจัดเก็บ การบริการในองค์กรนั้น ๆ
ความสำคัญของระบบงานECT
          ซึ่งมักกล่าวอ้างจาก แผนการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษา นโยบานภาครัฐ ฯลฯ ในการส่งเสริมหรือในการจัดการศึกษา โดยตาม พ.ร.บ.การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
          ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กระทรวงศึกษษธิการ, 2542) กล่าวสรุปได้ ดังนี้
  มาตรา ๖๓ ;; รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนาและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จาเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
  มาตรา ๖๔ ;; รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตารา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ;;; สื่อสิ่งพิมพ์ลดลงในปัจจุบัน เพราะหลายอย่างเก็บไว้บนอินเตอร์เน็ตแล้วเข้าถึงได้ง่าย กระจายข่าวได้รวดเร็ว รวมถึงสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแบกเอกสารที่หนัก ๆ
  มาตรา ๖๕ ;; ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ;;; ในแต่ละที่จะมีนโยบายหรือแผน เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แล้วเราในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษาเราจึงต้องติดตามข่าวสาร ปรับตัวและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้วย
  มาตรา ๖๖ เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อมีทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  มาตรา ๖๗ ;; รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
  มาตรา ๖๘ ;; ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกาไรที่ได้จากการดาเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
----------------------APPLICATION------------------------
          ในอดีตการเรียนทางไกลเรามักเรียนผ่านวีดิโอ หรือดาวเทียม ฯลฯ ในปัจจุบันนี้มีการนำแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการสื่อสารทางไกลกัน เช่น LINE SKYPE HANGOUT หรือ ZOOM
ทดลองเรียนทางไกลด้วย APPLICATION “ZOOM”
          อาจารย์ส่ง PMI (Personal Meeting ID) ของแอพพลิเคชั่น ZOOM ให้นิสิตกดเข้าไปเพื่อพูดคุยกัน
Conference;;
E-learning; Electronic learning เป็น การศึกษาทางไกลรูปแบบหนึ่งซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปยังสถานศึกษาด้วยตนเอง สามารถเรียนได้ตามช่วงเวลาที่สะดวก เรียนได้ตามความถนัด และความสนใจ แต่ต้องอาศัยเรียกเนื้อหาสาระ แบบฝึกหัด ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต สามารถโต้ตอบกับผู้สอน แลกเปลี่ยนความรู้ หรือแนวคิดกับผู้เรียนจากสถานที่อื่นผ่านระบบเครือข่ายเช่นกัน รวมทั้งมีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่สถาบันหรือหน่วยจัดการศึกษากำหนด
M-learning; Mobile learning เป็นการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถติดตามตัวได้ตลอดเวลา ตลอดจนมีขนาดพอเหมาะสำหรับการเรียนรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อเป็นช่องทางในการปฎิสัมพันธ์จัดการกับบทเรียนเนื้อหาบนเครื่องมือและอุปกรณ์
U-learning; Ubiquitous learning เป็น การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย รวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาแท้ที่จริงแล้ว  น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย
4M;; Man Money Material Management Marketing
4 M’s คน ( Man ) เงิน ( Money ) วัตถุดิบ ( Material ) และวิธีการ / จัดการ ( Method / Management ) 
   6 M’s 4M+2M ( เครื่องจักรกล ( Machine ) และ การตลาด ( Market ) )
   8 M’s 6M + 2M ( ขวัญและกำลังใจ ( Morale ) ข้อมูลข่าวสาร ( Message ) )
ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
          การออกแบบ (Design)
>> ISD การออกแบบระบบการเรียนการสอน เช่น KEMP MODEL, Dick & Carey MODEL, CIPPA MODEL
>> การออกแบบสื่อ เช่น Infographic และการเข้าถึงอย่าง QR  CODE รวมถึงการ Design message ที่น่าสนใจและมีประโยชน์  
>> กลยุทธ์การสอน (Strategy) ถ้าเราสอนแบบ Case Base Learning >> การเรียนการสอนแบบใช้กรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง จะมีลักษณะคล้ายกับการร่วมอภิปราย
ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
1.       Edmodo
2.       Schoology
3.       การ์เย่
4.       LMS
5.       ASSURE MODEL
6.       ADDIE MODEL
7.       AI (Artificial Intelligence)
8.       21th Century Learning & Skill
9.       เตรียมทำ BlogSpot

งานของสัปดาห์นี้
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารองค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น