ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กร
ทฤษฎี Z โดย ดร.วิลเลี่ยม โออุชิ (William G. Ouchi)
ดร.วิลเลี่ยม โออุชิ (William G. Ouchi)
ที่มา http://www.anderson.ucla.edu/
ศาสตราจารย์วิลเลี่ยม
โออุชิ เป็นศาสตราจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการจัดการและการจัดองค์กร
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
William
G. Ouchi, Distinguished Professor of Management and Organizations,
University of California at Los Angeles (UCLA)
Phone:
(310) 206-9008
william.ouchi@anderson.ucla.edu
ศาสตราจารย์วิลเลี่ยม โออุชุ เกิดในปี ค.ศ. 1943 (ปัจจุบันมีชีวิตอยู่ด้วยอายุ 74-75 ปี)
ที่เมืองฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นคนสัญชาติอเมริกัน
แต่มีเชื้อชาติทั้งญี่ปุ่นและอเมริกัน ขณะนี้เป็นนักการศึกษาหรือศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการจัดการและการจัดองค์กรของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
รัฐลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยศาสตราจารย์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านเศษฐศาสตร์การเมืองจาก William
College (1965) จบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ
จาก Stanford University (1967) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านบริหารธุรกิจ
จาก University of Chicago (1972) หลังจากจบการศึกษาศาสตราจารย์ได้ทำงานเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารที่ Stanford
University เป็นเวลา 7-8 ปั (1972
– 1979) ก่อนที่จะย้ายไปทำงานยังมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียจนถึงปัจจุบัน
ผลงานที่ทำให้ศาสตราจารย์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือการเขียนหนังสือเรื่อง “Theory
Z : How American Management Can Meet the Japanese Challenge (Addison-Wesley,
1981)” ซึ่งเป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากผลกระทบระหว่างระบบการบริหารแบบญี่ปุ่นและอเมริกาที่ธิบายโครงสร้างตามการจัดการผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกา
(Theory A : America Theory) กับการบริหารแบบญี่ปุ่น (Theory
J : Japan Theory) และหลังจากนั้นศาสตราจารย์ได้เขียนหนังสือที่ได้รับความนิยมอีกจำนวนหนึ่ง
ผลงานทางด้านหนังสือ
Theory Z: How American Management Can Meet the Japanese
Challenge (1981)
The M-Form Society: How American
Teamwork Can Recapture the Competitive Edge (1984)
Making Schools Work: A Revolutionary Plan to Get Your
Children the Education They Need (2003)
The Secret of TSL: The Revolutionary Discovery That
Raises School Performance (2009)
ทฤษฎี Z โดย ศาสตราจารย์วิลเลี่ยม โออุชิ
บางตำราอาจจะเรียกทฤษฎี z ว่าเป็นกลุ่มทฤษฎีร่วมสมัยหรือเป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
ซึ่งจากที่ได้กล่าวถึงประวัติของศาสตราจารย์โออุชิมาข้างต้นนั้น
ท่านเป็นคนสัญชาติอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ท่านได้ศึกษาวิจัยว่า
แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลกนั้น แบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ
ค่ายอเมริกันและค่ายญี่ปุ่น โดยสาเหตุที่ต้องศึกษาเช่นนั้น เพราะท่านมองว่าประเทศสหรัฐอเมริกามักประสบความสำเร็จในธุรกิจโดยเฉพาะก่อนสงครามโลกครั้งที่
2 (ช่วงประมาณ ค.ศ. 1939-1945) และเป็นผู้ที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ผลปรากฏว่า
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ญี่ปุ่นนั้นแม้จะเป็นประเทศที่ขาดดุลทางการค้าแก่อเมริกาแต่ได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นมา
จนสามารถเป็นยักษ์ใหญ่ในโลกเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ คล้ายกับว่า
อเมริกันนั้นขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นอย่างย่อยยับ ดังนั้นศาสตราขารย์วิลเลี่ยม
จึงศึกษาวิเคราะห์ถึงจุดเด่น
จุดด้อยของการบริหารจัดการจากทั้งสองค่ายเพื่อนำมาสร้างเป็นแนวคิด ทฤษฎีใหม่ขึ้นมา
นั่นก็คือทฤษฎี z ที่ตีพิมพ์ลงหนังสือในปี ค.ศ. 1981 และเนื่องจากทฤษฎี z มีแนวทางการพัฒนามาจากการบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกา
(บริหารด้วยทฤษฎี A) กับประเทศญี่ปุ่น
(บริหารด้วยทฤษฎี J) ในการที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี z นั้น จึงควรที่จะศึกษาทำความเข้าใจทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A (American Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา
ซึ่งองค์กรเน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีความรับผิดชอบและการตัดสินใจของตนเอง
โดยไม่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1) Individualism คือ
การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล
ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
และเมื่อคนต่างชาติโดยเฉพาะคนตะวันออกเข้าไปอาศัยในอเมริกันก็จะสังเกตว่า
คนอเมริกันเป็นคนโดดเดี่ยว ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร สังคมแบบ Individualism ส่งผลให้เกิดบุคลากรที่มีความรับผิดชอบในหน่วยงานสูง แต่ก็เกิดผลเสียคือ
ไม่เกิดความผูกพัน
2) Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว
ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน จึงมักมีบริการให้เช่าสิ่งต่าง ๆ
ซึ่งมองว่าต้นทุนในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เมื่อย้ายงาน ออกจากบ้าน
จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าเช่า
3) Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ
ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
ทฤษฎี J (Japan
Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น
ซึ่งมีลักษณะเน้นการจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
เพราะฉะนั้นการเลี้ยงคนแบบญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป
แต่ผลเสียคือ
ต้องเลี้ยงคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำไว้ในหน่วยงานจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน
ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การ ลักษณะอีกประการของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น คือ
ต้องมี Consensual Decision Making คือ
การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ
อาจเกิดความล่าช้า
จากที่ศาสตราจารย์วิลเลี่ยม โออุชิ ศึกษาและวิเคราะห์จุดเด่น
จุดด้อยของทั้ง 2 ทฤษฎีตัวอย่าง แล้วนำมาสร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย (Blend
Together) หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า
ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
โดย
1) Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ
ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น
แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
2) Individual Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล
ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป
3) Consensual Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ
เมื่อกล่าวถึงทฤษฎี Z A J ก็มักจะมีคนพูดถึงทฤษฎี X
Y ที่พัฒนาขึ้นมาก่อน โดย Douglas Mc Gregor (ค.ศ. 1906-1964)
เป็นการศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์
การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ
ที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ” และสรุปว่า
กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human
Behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y คือ
ทฤษฎี X (Theory X) คือ คนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ
มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y
(Theory Y) คือ คนประเภทขยัน
ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทาย ความสามารถ
สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก
และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานสรุป Donglas Mc
Gregor เห็นว่าคนมี 2 ประเภท และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท
ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน
ลักษณะที่สำคัญของการบริหารองค์กรตามทฤษฎี Z
1.
ระยะเวลาจ้างงานระยะยาว เป็นไปตลอดชีพ (Lifetime Employment)
ไม่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขทางสังคม
ที่ทำให้คนงานจะย้ายงานไม่ได้หรือลำบากใจ ย้ายงานอย่างในญี่ปุ่น
2. การประเมินและเลื่อนตำแหน่ง (Slow Evaluation and Promotion)
การเลื่อนขั้นเป็นไปอย่างเร็วปานกลาง แต่จะไม่ช้าขนาด 10 ถึง 15 ปี
ระยะเวลาเลื่อนขั้นต่าง ๆ จะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
แต่การมีเวลาทิ้งช่วงช่วยให้พนักงานได้เห็นผลประโยชน์
และการประเมินผลงานของแผนงานระยะกลางและระยะยาว
3. ลักษณะงานอาชีพ (Nonspecialized Career Paths)
แนวทางอาชีพกึ่งเฉพาะด้าน เพราะไม่ถึงกับต้องหมุนเวียนไปทำงานทุก ๆ
อย่างในบริษัท หรือกระทั่งไปทำบริษัทอื่นในเครือหรือสาขาอื่น
แต่เปิดโอกาสให้พนักงานของตนได้มีประสบการณ์ในสายงานหนึ่ง ตั้งแต่การออกแบบ
การผลิต และกระทั่งการวางตลาด ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้เกิดความพอใจที่จะอยู่ในบริษัทนั้นมากยิ่งขึ้น
4. การบริหารมีระบบการควบคุมที่ไม่มีรูปแบบ (Implicit Control
Mechanisms)
เป็นการควบคุมการบริหารแบบอเมริกัน ใช้ระบบ MBO กลไกการควบคุมงานอยู่ในจุดสมดุล ระหว่างแบบทางตรงและแบบทางอ้อม
โดยสร้างให้เกิดบรรยากาศของความไว้วางใจ (trusts) ขึ้นในองค์การ
5. การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Consensual Decision Making)
มีทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ โดยมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุก ๆ
คนที่เกี่ยวข้องก่อน และคนที่รับผิดชอบจะเป็นคนตัดสินใจเองในที่สุด
6. การทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ
มีอิสระเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพเท่าเทียมกันยึดหลัก ซื่อสัตย์ต่อกัน (trust) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (subtlety) ความใกล้ชิดและเป็นกันเอง
(intimacy) ไม่เน้นถึงการปฏิบัติต่อกันในระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา
โดยเพิ่มความเอาใจใส่ต่อบุคคลใต้บังคับบัญชามากยิ่งขึ้น
และเน้นการประสานงานกันในระหว่างคนในระดับเดียวกัน ให้ทุก ๆ คนปฏิบัติต่อกันในฐานะ
คนกับคน มิใช่ในฐานะ เจ้านายกับลูกน้อง
กล่าวโดยสรุปอีกครั้งว่า ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการที่ผสมผสานแนวความคิดแบบอเมริกันและญี่ปุ่น
โดยองค์การจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการจ้างงาน การตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์
การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบให้บุคคล
การประเมินผลและการเลื่อนตำแหน่งแบบเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป
แต่มีระบบประเมินที่ชัดเจน การเติบโตในเส้นทางอาชีพมีความชัดเจน บริษัทข้ามชาติ
ซึ่งมีรูปแบบการบริหารองค์การตามแนวคิดทฤษฎี Z ได้แก่
บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทพรอตเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง
(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮิวเลต-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกดัก
(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฟอร์ด
เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทจีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด
ตัวอย่างงานวิจัยที่ศึกษาโดยใช้ทฤษี z (RESEACH)
Significance of Theory Z in Indian Scenario,
Brajesh Kumar Parashar, Research Scholar, CRIM, Barkatullaha University Bhopal,
M.P: International Journal of Management and Social Sciences
Research (IJMSSR) Volume 5, No. 2, February 2016
การบริหารองค์การแบบ z ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การโดยรวมของพนักงานชาวไทยในกรุงเทพมหานคร
โดยนางสาวสุภาวดี ธีระกร
การนำ
ทฤษฎี z มาประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กร
ทฤษฎี z เป็นทฤษฎีการบริหาร “คน” ที่ได้รับการยอมรับและนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการบริหารองค์กร
หากจะกล่าวถึงการนำมาใช้ในองค์กรนั้น คงต้องวิเคราะห์พื้นฐานของบุคคลากรในองค์กร
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://wirotsriherun1.blogspot.com/
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Man/Supawadee_T.pdf
http://chuaychai.blogspot.com/2012/02/z.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น